หลายคนคงรู้จักอาหารทางการแพทย์หรือเคยได้ยินคำว่า “อาหารทางการแพทย์” แต่ก็ไม่ทราบว่าอาหารทางการแพทย์นั้นสามารถใช้กับใครและใช้อย่างไร ต้องบอกก่อนว่าอาหารทางการแพทย์ คือ อาหารที่ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้นและใช้เพื่อช่วยผู้ป่วยให้ได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อโรคและร่างกายของผู้ป่วย ไม่สามารถใช้แทนยาได้เพราะเนื่องจากอาหารทางการแพทย์ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการรักษาโรค
แต่เป็นเพียงแต่ช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาที่อาจจะเกิดจากโรคหรือช่วยจัดการเกี่ยวกับโรคได้ง่ายยิ่งขึ้นและยังช่วยในเรื่องของการลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน การใช้อาหารทางการแพทย์นั้นไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ต่อผู้ป่วยสำหรับอาหารทางการแพทย์นั้นมีหลากหลายสูตรหลักหลายชนิดแต่เราควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับร่างกายและโรคของผู้ป่วย โดยแพทย์จะเป็นผู้กำหนดว่าผู้ป่วยควรได้รับอาหารทางการแพทย์สูตรใดเพื่อให้เหมาะสมกับความเจ็บป่วยเฉพาะที่และไม่สามารถเลือกซื้อมารับประทานเองได้และที่สำคัญที่สุดคือต้องระมัดระวังในการใช้ ควรใช้อย่างถูกต้อง สำหรับวันนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ของอาหารทางการแพทย์ว่ามีประโยชน์อย่างไรและสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นได้อย่างไร
ต้องบอกก่อนว่าอาหารทางการแพทย์นั้น สามารถใช้เป็นอาหารหลักแทนอาหารในแต่ละมื้อได้ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ เช่น
- ผู้ป่วยอัมพาต
- อัมพฤกษ์
รวมทั้ง ผู้ที่มีร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมอาหารได้ยกตัวอย่าง เช่น
- ผู้ป่วยไตวาย ที่ต้องการอาหารที่จำกัดปริมาณของโพแทสเซียม
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ที่ต้องการอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ
- หรือผู้ที่สูญเสียกล้ามเนื้อที่ต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง
- หรือใช้สำหรับเป็นอาหารทางสายยางได้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว หมดสติ
ทั้งนี้อาหารทางการแพทย์ยังใช้ในการป้องกันการขาดสารอาหารในผู้ป่วยได้อีกด้วย มีส่วนช่วยลดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต เพราะถ้าร่างกายเกิดการขาดสารอาหารที่จำเป็นก็จะส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงตามไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันอาหารทางการแพทย์ ที่ผลิตสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เช่น สูตรสำหรับเด็กที่ไม่ยอมกินข้าวหรือกินอาหารหลักได้น้อย หรือสูตรสำหรับเด็กที่มีปัญหาแพ้โปรตีนจากนมวัวหรือนมถั่วเหลือง ยังสามารถใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อเพิ่มพลังงานให้กับผู้ที่รับประทานอาหารเองได้
แต่มีปริมาณและพลังงานที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหรือผู้ป่วยมะเร็ง ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ที่อาจจะมีอาการข้างเคียงคือเบื่ออาหารและสามารถรับประทานอาหารได้น้อยโดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้อาหารทางการแพทย์เพื่อเสริมและเพิ่มพลังงานสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายทำให้แผนการรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั่นเอง
เพราะฉะนั้น อาหารทางการแพทย์แม้ไม่ได้เหมาะสมกับทุกคน ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนคุณซื้อหามารับประทานเพื่อเป็นอาหารสุขภาพหรืออาหารเสริมได้ เพราะถ้าหากคุณมีสุขภาพที่แข็งแรงและสามารถรับประทานอาหารได้เอง ร่างกายได้รับสารอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่เป็นประจำ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาหารทางการแพทย์ก็มีความจำเป็น เพราะการรับประทานอาหารจากธรรมชาติและอาหารที่มีคุณภาพดีจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อดีอยู่แล้ว และยังช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยอาหารทางการแพทย์ส่วนใหญ่ มีใยอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่ผู้ที่มีสุขภาพดีแต่ต้องเร่งรีบกับการทำงานและแข่งกับเวลา ทำให้ไม่มีเวลารับประทานอาหาร การดื่มอาหารทางการแพทย์สามารถทดแทนได้เป็นบางมื้อ ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารและพลังงานทดแทน แต่ก็ควรเป็นทางเลือกที่ 2 รองจากการรับประทานอาหารหลัก อย่างไรก็ตามเราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะทำให้ร่างกายของเราลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและอยากให้ทุกคนหมั่นออกกำลังกาย เพื่อที่จะได้มีร่างกายที่แข็งแรงและที่สำคัญควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอภายในร่างกาย ทำให้เรามีสุขภาพดีสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่และมีความสุขและยังช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย
ประโยชน์ของอาหารทางการแพทย์ อาหารสายยาง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/